แบบไหนถึงเรียกว่า ความบกพร่อง Defect ในการหาตำหนิบนผิวชิ้นงาน ?

แบบไหนถึงเรียกว่า ความบกพร่อง Defect ในการหาตำหนิบนผิวชิ้นงาน ?




แบบไหนถึงเรียกว่า ความบกพร่อง Defect ในการหาตำหนิบนผิวชิ้นงาน ?

ทำความรู้จัก “ความบกพร่อง” ?

ความบกพร่องแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้

1. ความบกพร่องจุด (point deflects)

2. ความบกพร่องแบบเส้น (line defects)

3. ความบกพร่องแบบระนาบ (interface defects)

4. ความบกพร่องขนาดใหญ่ (bulk defects)

ซึ่งความบกพร่องที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดประมาณ 10 ยกกำลัง -3 ม. และบางครั้งอาจมีขนาดใหญ่กว่านี้ ความบกพร่องขนาดใหญ่มีความสำคัญดังนี้คือ

1. ฟองอากาศ (Holes)
พบบ่อยในโลหะ เพราะปกติจะมีอาการรวมตัวอยู่ในสภาพเป็นของเหลวระหว่างการแข็งตัวของโลหะจะมีอากาศออกมาและมีฟองกาศ อาจพบฟองอากาศในรอยเชื่อมเนื่องจากน้ำในธูปเชื่อมจะทำให้เกิดฟองอากาศของออกซิเจนในรอยเชื่อม

2. อนุภาคเจือปนในวัสดุ (Inclustion)
การแทรกตัวของสารแปลกปลอมต่างๆ (สารไม่พึงประสงค์) อาทิเช่น เหล็กออกไซด์ในขณะที่ทำการหลอมเหล็ก เหล็กออกไซด์จะแทรกอยู่ในเนื้อเหล็ก ในรูปแบบของอนุภาคเจือปน อนุภาคเจือปนจะทำให้แข็งแรงของเหล็กลดลง ดังนั้นหากมีอนุภาคเจือปนมากในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลหะ จะทำให้ส่วนนั้นเป็นจุดอ่อนของโลหะ

3. รอยร้าว (Cracks)
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในความบกพร่องขนาดใหญ่ เพราะจะมีผลต่อคุณสมบัติเชิงกลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุเปราะ ทั้งนี้เพราะรอยร้าว มีลักษณะเป็นปลายแหลมและขยายใหญ่ขึ้น เมื่อได้รับแรงเพิ่มขึ้นเป็นผลให้วัสดุแตก

4. ละลายและความลึกไม่พอ (Lack of fusion and penetration)
การละลายและความลึกไม่พอเกิดจากการบากชิ้นงานบริเวณที่จะเชื่อมไม่ลึกพอ ทำให้เกิดการหลอมเหลวเฉพาะบริเวณผิวหน้าของชิ้นงาน ความร้อนไปไม่ถึงบริเวณด้านล่างของชิ้นงานทำให้ด้านล่างชิ้นงานไม่หลอมเหลว ทำให้การเชื่อมติดไม่ดี ความแข็งแรงก็จะน้อยลง
.
ที่มา : สำนักวิชาวิศกรรมศาสตร์ eng.sut
.
ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์