การควบคุมไอน้ำเชื้อเพลิงของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก และประเภท ข คืออะไร ?

การควบคุมไอน้ำเชื้อเพลิงของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก และประเภท ข คืออะไร ?




การควบคุมไอน้ำเชื้อเพลิงของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก และประเภท ข คืออะไร ?


สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็นประเภท ก หรือ ข ต้องมีการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงจัดให้มีระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีขั้นตอน วิธีการติดตั้ง และการทดสอบดังต่อไปนี้

1. แบบของระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องแสดงรายละเอียดการติดตั้งของระบบท่อ และอุปกรณ์ควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง

2. ท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องทำด้วยวัสดุที่มีความมั่นคงแข็งแรง และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันเชื้อเพลิง จะเป็นท่อชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้ และควรมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1 : 100 ลาดลงไปทางด้านถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน

3. ข้อต่อท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิงต้องเป็นชนิดที่สามารถป้องกันไอน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหล (Dry Break Fitting) และต้องมีฝาครอบปิดไว้ในขณะที่ไม่มีการถ่ายเทน้ำมันเชื้อเพลิง

4. ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงล้นถัง (Overfill Protection) ที่ข้อต่อท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง หรือข้อต่อท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิง

5. ต้องติดตั้งอุปกรณ์นิรภัยแบบระบายความดัน และสุญญากาศที่ปลายท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีลักษณะและการทดสอบ ดังต่อไปนี้

(ประเภท ก) อุปรกณ์นิรภัยต้องเริ่มเปิดระบายความดันไม่น้อยกว่าค่าความดันที่เกิดขึ้นในขณะถ่ายเทน้ำมันเชื้อเพลิงจากรถขนส่งน้ำมันลงสู่ถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดิน แต่ต้องไม่มากกว่าความดันออกแบบถัง และเปิดระบายความดันสุญญากาศ เมื่อเกิดสุญญากาศภายในถังที่มีความดันสุญญากาศไม่เกิน 2,000 Pascal (8 นิ้วน้ำ)

(ประเภท ข) ต้องทำการทดสอบอุปกรณ์นิรภัยดังกล่าวทุกสองปี

6. ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องติดตั้งตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(ประเภท ก) ระบบท่อแยก (Two Point Systems) ต้องจัดให้มีข้อต่อท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง และข้อต่อท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้ดินในแต่ละถัง ข้อต่อท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต่อกับสายอ่อนของรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อนำไอน้ำมันเชื้อเพลิงกลับสู่ถังขนส่งน้ำมัน และต้องมีขนาดใหญ่กว่าท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนที่แยกไปท่อระบาย เพื่อให้ไอน้ำมันเชื้อเพลิงไหลกลับเข้าสู่ถังขนส่งน้ำมันได้สะดวก

(ประเภท ข) ระบบท่อสองชั้น (Coaxial Systems) ต้องจัดให้มีข้อต่อสองชั้น สำหรับรับน้ำมันเชื้อเพลิง และนำไอน้ำมันเชื้อเพลิงกลับไว้ในท่อเดียวกันที่ถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดินแต่ละถัง และมีข้อต่อท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิงสามทาง (Coaxial Delivery Elbow) แยกต่อไปยังสายอ่อนของรถขนส่งน้ำมัน

(ประเภท ค) ระบบท่อร่วม (Manifolded Systems) ต้องจัดให้มีท่อร่วมของท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้ดินหลายถัง เพื่อลดจำนวนข้อต่อท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิง และต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำมันเชื้อเพลิงไหลเข้าท่อไอน้ำมันเชื้อเพลิง

7. เมื่อติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ก่อนการใช้งานต้องทำการทดสอบระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยความดันไม่น้อยกว่า 0.70 กิโลกรัม : ตารางเซนติเมตร (10 ปอนด์:ตารางนิ้ว) หลังจากทิ้งไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที ต้องไม่ปรากฏรอยรั่วซึมใดๆ หรือทำการทดสอบโดยวิธีอื่นตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดไว้

8. ให้มีการทดสอบระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ทุกสองปีโดยใช้ก๊าสเฉื่อยอัดด้วยความดันไม่น้อยกว่า 0.07 กิโลกรัม : ตารางเซนติเมตร (1 ปอนด์ : ตารางนิ้ว) หลังจากทิ้งไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที ต้องไม่ปรากฏรอยรั่วซึมใดๆ หรือทำการทดสอบโดยวิธีอื่นตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดไว้

9. การถ่ายเทน้ำมันเชื้อเพลิงจากรถขนส่งน้ำมันลงสู่ถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดินที่ติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องกระทำโดยรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงเท่านั้น

โดยรวมแล้วอาจดูค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้นการทดสอบแบบนี้ควรให้เป็นหน้าที่ของทีมช่างผู้เชี่ยวที่มีประสบการณ์สูง อย่างพวกเรา REC ที่มีบริการ “การทดสอบระบบไอน้ำมันเชื้อเพลิง (VRU) รถขนส่งน้ำมัน (พร้อมทดสอบวาระ 6 ปี) “ หากสนใจสามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย 👇


ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
งานตรวจสอบสภาพรถ (ตรอ.) : 063 - 932 - 3379
website : www.recndt.com
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์