การทดสอบแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing) สามารถแบ่งตามมาตรฐาน ASME ด้วยวิธีใดบ้าง

การทดสอบแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing) สามารถแบ่งตามมาตรฐาน ASME ด้วยวิธีใดบ้าง




การทดสอบแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing) สามารถแบ่งตามมาตรฐาน ASME ด้วยวิธีใดบ้าง

การตรวจพินิจหรืออีกหนึ่งชื่อที่เราเรียกกันว่า “การทดสอบด้วยสายตา” เป็นการทดสอบที่อาจนำอุปกรณ์อื่นๆมาใช้ในการช่วยตรวจสอบ ซึ่งการทดสอบด้วยวิธีการตรวจสอบพินิจ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับชิ้นงานมากพอ และรู้จักรอยความไม่ต่อเนื่องที่จะเกิดกับชิ้นงานนั้น อีกทั้งยังต้องสามารถวิเคราะห์และประเมินชิ้นงานว่าเป็นของเสียหรือไม่ การทดสอบด้วยวิธีนี้จะต้องใช้ความรู้ ความชำนาญ และการประเมิน รวมไปถึงประวัติการใช้งานในกรณีที่ชิ้นงานผ่านการใช้งานมาแล้วอีกด้วย

ลักษณะการทดสอบแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing) แบ่งเป็น 3 ประเภทที่อ้างอิงมาตรฐาน ASME ต่อไปนี้
1. การทดสอบด้วยวิธีการตรวจพินิจโดยตรง ผู้ทดสอบต้องผ่านการตรวจสอบสายตา และผ่านข้อกำหนดตามมาตรฐานที่อ้างอิงกับ วิธีการทดสอบโดยการตรวจพินิจโดยตรง

2. การทดสอบด้วยวิธีการตรวจพินิจโดยอ้อม ในบางกรณีที่ทดสอบในบริเวณที่ไม่สามารถมองด้วยสายตาได้โดยตรง จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยทดสอบระยะไกล เช่น กระจกเงา กล้อง Telescope , Borescope หรือเครื่องมืออื่นๆ เป็นต้น

3. การทดสอบด้วยวิธีการตรวจพินิจโดยใช้แสงสว่างช่วย เป็นการช่วยเสริมการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยตรง โดยใช้แสงสว่างที่สร้างขึ้นมาใช้เฉพาะงาน เช่น การใช้แสงสว่างจากหลอดไฟจำกัดการส่องสว่างเฉพาะที่ เพื่อให้พื้นที่ทดสอบมีความเข้มแสงอย่างสม่ำเสมอได้ตามมาตรฐาน

จุดเด่นของการทดสอบด้วยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing) เป็นวิธีการทดสอบที่ง่าย ใช้เวลาในการทดสอบน้อยกว่าวิธีอื่นๆ อีกทั้งยังใช้ต้นทุนในการทดสอบต่ำ ประหยัดเวลาเพราะใช้เวลาน้อยในการอบรมบุคลากร และสามารถทำการทดสอบได้ทุกขั้นตอนการผลิต เป็นวิธีที่ใช้เครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน โดยเฉพาะสถานที่และรูปร่างของวัสดุไม่เป็นข้อจำกัด

ส่วนจุดด้อยของการทดสอบด้วยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing) คือ เป็นวิธีการทดสอบที่มีความง่ายแต่ต้องใช้ความชำนาญที่สูงมากๆ และยังไม่มีมาตารฐานสำหรับข้อกำหนดของการตัดสินใจว่าเป็นของเสียหรือไม่ ในส่วนของการทดสอบได้แค่บริเวณผิวหน้าของชิ้นงานเท่านั้น และการทดสอบต้องใช้สายตาเป็นหลัก หากเกิดปัญหาทางด้านสายตาอาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้นั่นเอง

ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
งานตรวจสอบสภาพรถ (ตรอ.) : 063 - 932 - 3379
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์