การตรวจสอบขณะเดินเครื่อง (Hot Check) คืออะไร มีข้อกำหนดอะไรบ้าง

การตรวจสอบขณะเดินเครื่อง (Hot Check) คืออะไร มีข้อกำหนดอะไรบ้าง



การตรวจสอบขณะเดินเครื่อง (Hot Check) คืออะไร มีข้อกำหนดอะไรบ้าง


การตรวจสอบขณะเดินเครื่อง (Hot Check) คือ การตรวจสอบของผู้ควบคุม ประจำหม้อน้ำของโรงงาน หรือเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องจากภายนอก โดยมีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ ความสมบูรณ์ถูกต้องในการติดตั้งหรือการทำงานของอุปกรณ์ความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ตรวจสอบลักษณะการติดตั้งหม้อน้ำ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มฯ พ.ศ. 2549 ซึ่งกําหนดดังนี้

- ระยะห่างจากเครื่องจักร อุปกรณ์หรือวัสดุอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร
- ระยะห่างจาก ผนัง หม้อน้ำอื่น เพดาน ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ยกเว้นหม้อน้ำแบบไหลผ่านทางเดียว(Once Through Boiler) ที่มีพื้นที่ผิวรับ ความร้อนไม่เกิน 10 ตารางเมตร และความดันใช้งานสูงสุดไม่เกิน 10 กิโลกรัม ต่อตารางเซนติเมตร ทั้งนี้ ระยะดังกล่าวต้องเพียงพอต่อการบํารุงรักษาและตรวจสอบ
- ต้องมีทางเข้าออกอย่างน้อย ๒ ทาง มีความกว้างอย่างน้อย 0.5 เมตร ความสูงอย่างน้อย 2 เมตร และต้องปราศจากสิ่งกีดขวางทางเข้าออก
- ในกรณีที่จำเป็นต้องเก็บเชื้อเพลิงไว้ในบริเวณสถานที่ติดตั้ง ต้องเก็บอยู่ห่างจากหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อนไม่น้อยกว่า 1 เมตร
- ฐานรากสถานที่ติดตั้งหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนําความร้อน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องมั่นคงแข็งแรง
- การแสดงใบอนุญาตผู้ควบคุมหม้อน้ำไว้ ณ ที่เปิดเผย ในสถานที่ตั้งหม้อน้ำ

2. การตรวจสอบสภาพแวดล้อมบริเวณติดตั้งหม้อน้ำ ให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม ดังนี้

- ตรวจสอบอาคารหรือห้องหม้อน้ำ ต้องมีระบบการระบายอากาศที่ดี เพื่อลดอุณหภูมิภายในอาคารหรือห้องหม้อน้ำ และลดปริมาณไอระเหยของสารเชื้อเพลิง ไม่ให้ถึงจุดติดไฟ (LEL)Lower Explosion Limit
- การออกแบบลักษณะการระบายอากาศ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารเชื้อเพลิงที่ใช้ (เบา หรือ หนัก กว่าอากาศ)
- การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับก๊าซ (Gas Detector) อย่างถูกต้องเหมาะสมกับชนิดของก๊าซ

3. การบริหารจุดเสี่ยงของหม้อน้ำ ในการติดตั้งหม้อน้ำ ควรคํานึงถึงบริเวณที่มี ความเสี่ยงสูงหากเกิดอุบัติเหตุ ไม่ควรมีพนักงานหรือโครงสร้างหลักในการรับน้ำหนักของอาคารอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย

4. การติดป้ายเตือน หรือข้อแนะนําต่างๆ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีป้ายบอกลำดับขั้นตอนการทำงาน ป้ายเตือนอันตรายในกรณีต่างๆ วิธีการปฏิบัติในกรณี ฉุกเฉิน และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทฯ ผู้สร้างหม้อน้ำ วิศวกรผู้ตรวจทดสอบหม้อน้ำ หน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถติดต่อขอคำแนะนําต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาในกรณีฉุกเฉิน

5. การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ ให้เป็นไปตามประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มฯ พ.ศ. 2549

📂 ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา

☎️ : ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
🚘 : งานตรวจสอบสภาพรถ (ตรอ.) : 063 - 932 - 3379
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์